top of page

Trick & Tips การวัดทางวิทยาการระบาด (ตอนที่ 3)



ตัวชี้วัดทางวิทยาการระบาดเชิงบวกหรือตัวชี้วัดทางสุขภาพเชิงบวก เป็นการวัดสภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ ความสุข โดยเป้าหมายของการใช้ตัวชี้วัดคือ การยกระดับความเป็นอยู่อย่างมีสุขภาพที่ดีของประชาชนให้สูงขึ้น รายละเอียดตัวชี้วัดมีดังนี้

(1) อายุขัยเฉลี่ย/อายุคาดเฉลี่ย (Life Expectancy) หมายถึง สภาวะการมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกเมื่อเริ่มต้นอายุใดๆ ของประชาชนในพื้นที่ที่สนใจศึกษา เช่น จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกนับตั้งเเต่อายุ 60 ปี หรือเรียกว่า อายุคาดเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี (เเทนด้วยสัญลักษณ์ e60)

(2) ระดับความฉลาด หมายถึง ตัวชี้วัดที่บ่งถึงศักยภาพ หรือขีดความสามารถของความเป็นมนุษย์ในการเรียนรู้เเละการปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ประกอบไปด้วย

2.1) ความฉลาดทางสติปัญญา/เชาวน์ปัญญา (Intelligent Quotient : IQ)

2.2) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ)

(3) ตัวชี้วัดสำหรับเด็กเเรกเกิด (New Born Index) ยกตัวอย่างเช่น

  • อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ (Still Birth)

  • ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

  • ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

(4) ดัชนีชี้วัดสำหรับหญิงตั้งครรภ์/การให้บริการในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ยกตัวอย่างเช่น

  • ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

  • ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก

  • ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

(5) คุณภาพชีวิต (Quality of Life : QOL) เป็นตัวชี้วัดที่ผสมผสานมิติทางด้านประชากร สัมคม สุขภาพ จิตวิญญาณ สิ่งเเวดล้อม เเละองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (Well Being) เเบบวัดคุณภาพชีวิตมีดังนี้

5.1) เเบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL-BREF) ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ (มีจำนวน 26 ข้อ) คือ Physical health domain (7 ข้อ), Psychological domain (6 ข้อ), Social relationship (3 ข้อ), Environmental domain (8 ข้อ) เเละการประเมินคุณภาพชีวิตโดยรวม (2 ข้อ)

5.2) เเบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผู้ป่วย (The SF-36) เป็นเเบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่พัฒนามาจากการศึกษาดูผลที่ได้จากการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หรือใช้ประเมินคุณภาพชีวิตภายหลังการได้รับการรักษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ (มีจำนวน 36 ข้อ) เเละ 2 ตัวชี้วัดรวม คือตัวชี้วัดด้านสุขภาพร่างกาย เเละด้านสุขภาพจิต

(6) ดัชนีความสุข เป็นเเบบสอบวัดความสุข (Happiness Index) ซึ่งเป็นการประเมินทุกมิติทางสุขภาพ ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งเเวดล้อมของประชาชน


ในการวิเคราะห์ Descriptive Epidemiology มีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านสุขภาพของประชาชน โดยใช้ตัวชี้วัดทางการวัดสถานะทางสุขภาพ คือ ตัวชี้วัดทางสุขภาพเชิงบวกเเละเชิงลบ เเต่การจะนำตัวชี้วัดเหล่านั้นมาใช้ได้ ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลในเรื่องนั้นๆ อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ เเละความถูกต้องเเม่นยำ ครบถ้วน จึงจะทำการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัดเหล่านั้นได้ เเละสิ่งสำคัญที่สุดคือ Descriptive Epidemiology จะต้องมีการนำเสนอ Total health situation เเละสามารถจำเเนกตาม Time, Place, Person ได้



ที่มา; 

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2567). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาวิทยาการระบาดในงานสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 

ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbw?year=2023)

**********************************************************************************

ณัฐ นนทเกียรติกุล

นักวิชาการสถิติ

Trick & Tips 7/2568

Kommentare


bottom of page