โดยทั่วไปการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยนั้น จะทำเมื่อผลการตรวจวินิจฉัยที่มีมาก่อนให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยเป็นอะไร ดังนั้นเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง การตัดสินใจเลือกวิธีการตรวจใหม่จะต้องเพิ่มโอกาสที่จะวินิจฉัยโรคได้เมื่อเทียบกับตอนก่อนส่งตรวจ จึงจะเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยได้
วัตถุประสงค์ของการส่งตรวจวินิจฉัย ดังนี้
1. เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ (Diagnosis)
2.เพื่อการคัดกรองโรค (Screening)
3.เพื่อช่วยในการวางแผนรักษาผู้ป่วย (Monitoring of management)

Sensitivity หรือ ความไว คือสัดส่วนของผลบวกของการตรวจในผู้ป่วยที่เป็นโรค หรือถ้าผู้ป่วยมีโรคจริงแล้วโอกาสที่ผลการตรวจจะให้ผลเป็นบวกเป็นร้อยละเท่าไร โดยในการสืบเสาะหาโรค (Screening) จะเลือกใช้วิธีทดสอบที่ให้ค่า Sensitivity สูงๆ
Specificity หรือ ความจำเพาะ คือ สัดส่วนของผลลบของการตรวจในคนปกติ หรือถ้าคนนั้นไม่มีโรคนั้นหรือเป็นคนปกติแล้ว มีโอกาสที่ผลการตรวจจะให้ผลเป็นลบร้อยละเท่าไร โดยในการวินิจฉัยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคจริง (Confirm diagnosis) จะเลือกใช้วิธีทดสอบที่ให้ค่า Specificity สูงๆ
Accuracy คือ ความเเม่นยำของการตรวจที่จะบอกจำนวนที่เป็นโรคเเน่เมื่อได้ผลบวก เเละไม่เป็นโรคเเน่ๆ เมื่อได้ผลลบนั้น เป็นสัดส่วนเท่าใดของประชากรที่นำมาตรวจ
ณัฐ นนทเกียรติกุล
นักวิชาการสถิติ
Trick & Tips 4/2568
コメント